Autonomia : ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ
top of page
Autonomia : ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ
  • ผู้เขียน: เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
  • สำนักพิมพ์: Illuminations Editions
  • จำนวนหน้า: 302 หน้า ปกอ่อน
  • พิมพ์ครั้งที่ 1 — พฤษภาคม 2560
  • ISBN: 9786168051047

Autonomia : ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ

฿270.00 ราคาปกติ
฿243.00ราคาขายลด
สินค้าหมด
  • Autonomia: ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการปฏิวัติของส่วนรวม ของเก่งกิจ กิตติเรียงลาภเป็นผลงานในภาคภาษาไทยเล่มแรกที่นำพาเราไปรู้จักกับ Autonomia ขบวนการความคิดทฤษฎี ที่เปิดทางไปสู่การศึกษาระบบทุนนิยมในแง่มุมใหม่และการตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ของสังคมคอมมิวนิสต์อีกครั้ง

     

    สินค้าที่เป็นอวัตถุก็คือการผลิตสร้างระบบภาษาสัญญะ ความหมาย อารมณ์ ความรู้สึกและความรู้ “ระบบทุนนิยมเองก็ต้องการพิทักษ์ผลิตผลอวัตถุเหล่านี้ด้วยกฎหมาย” และ “พัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกในการยึกจับมูลค่าของผลผลิตที่เป็นอวัตถุ” ในแง่นี้กลไกของ “the rule of law” จึงเป็นกลไกสำคัญการพิทักษ์ทรัพย์ส่วนตัว (private property) ในมุมต่างของโลก สำหรับแรงงานในการผลิตอวัตถุก็จะมีลักษณะคล้ายศิลปินด้วยการผลิต “งานบริการที่ผลิตสร้างความรู้สึกงานสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม” งานโฆษณา ฯลฯ

     

    ถ้าจะกล่าวอย่างง่ายๆ แบบหลวมๆ ก็คือ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) ด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ก็ทำให้คำกล่าวของศิลปิน Joseph Beuys “เราทุกคนคือศิลปิน” กลายมาเป็นการดำรงชีวิตในโลกทุนนิยมด้วยสภาพแบบนี้ก็ทำให้ “หมดเวลาที่ศิลปินจะอ้างตัวเป็นผู้สร้างสรรค์แต่เพียงกลุ่มเดียว หมดเวลาที่ศิลปินจะแยกตัวเองออกจากการเรียกร้องความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ”

ส่งฟรี เมื่อทำรายการสั่งซื้อ 600 บาทขึ้นไป (ส่งแบบธรรมดา)

มีบริการเก็บเงินปลายทาง (COD)

หนังสือที่เราคิดว่าคุณน่าจะชอบ

bottom of page