จากมือตบถึงนกหวีด: พัฒนาการและพลวัตรของขบวนการต่อต้านทักษิณ | paperyard
top of page
จากมือตบถึงนกหวีด: พัฒนาการและพลวัตรของขบวนการต่อต้านทักษิณ

 

  • ผู้เขียน : กนกรัตน์ เลิศชูสกุล
  • สำนักพิมพ์: Illuminations Editions
  • จำนวนหน้า:   หน้า ปกอ่อน
  •  พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2563
  • ISBN: 9786168215197

จากมือตบถึงนกหวีด: พัฒนาการและพลวัตรของขบวนการต่อต้านทักษิณ

฿290.00 ราคาปกติ
฿275.50ราคาขายลด
สินค้าหมด
  • งานชิ้นนี้เริ่มต้นจากการตั้งคำถามต่อการก่อตัว พัฒนาการ และเปลี่ยนแปลงของขบวนการต่อต้านทักษิณ จากการเริ่มต้นด้วยการเป็นขบวนการที่ประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่มีความคิดทางการเมืองที่หลากหลายในช่วงต้น แต่เหตุใดต่อมาจึงพัฒนาไปสู่ขบวนการที่มีแนวทางเชิงอนุรักษ์นิยมมากขึ้น และเหตุใดท้ายที่สุดพลังทางความคิดอื่นๆ จึงยอมประนีประนอมกับพลังและแนวทางอนุรักษ์นิยม หรือไม่ก็ยอมถอยออกจากขบวนการฯ ไปในที่สุด

    ในการทำความเข้าใจความซับซ้อนของพัฒนาการของขบวนการ งานชิ้นนี้พยายามพัฒนาการวิเคราะห์ผ่านข้อมูลและกรอบวิเคราะห์ที่แตกต่างจากงานอื่นๆ ก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-dept interview) และประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า (oral history) ของผู้นำและผู้สนับสนุนขบวนการต่อต้านทักษิณจำนวน 100 คน ทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด โดยพยายามครอบคลุมกลุ่มผู้สนับสนุนที่หลากหลายในหลากหลายมิติ ทั้งในแง่ความหลากหลายด้านภูมิหลังทางสังคมเศรษฐกิจ (socio-economic background) ด้านบทบาทหน้าที่และระดับการมีส่วนร่วมในขบวนการฯ (political function and degree of political engagement) ด้านชุดความสัมพันธ์กับขบวนการฯ ในช่วงเวลาต่างๆ (the pattern of relationship with the movement in different political trajectories) และด้านลักษณะทางภูมิศาสตร์การเมือง (geo-political condition)

    จาการศึกษาผ่านข้อมูลงานชิ้นนี้พบว่า ในช่วงเริ่มต้นขบวนการฯ ประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่หลากหลาย โดยเฉพาะในด้านยุทธศาสตร์เชิงอุดมการณ์ (ideological strategy) อันมี 3 กลุ่มหลักคือ กลุ่มอนุรักษ์นิยมเหนียวแน่น (unswerving conservatives) กลุ่มเสรีนิยมผู้ยอมประนีประนอม (compromised liberal) และกลุ่มเสรีนิยมผู้ถูกทำให้เป็นชายขอบ (marginalised liberals) แต่ในช่วงเวลาต่อมาพลังอนุรักษ์นิยมเหนียวแน่นประสบชัยชนะในการต่อสู้ภายในขบวนการฯ จนกลายเป็นกลุ่มที่มีพลังเหนือกลุ่มอื่นและมีอำนาจครอบงำทั้งในเชิงอุดมการณ์และการตัดสินใจในองค์กร

    หนังสือเล่มนี้อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวว่าเป็นผลมาจาก หนึ่ง การเติบใหญ่ของพลังอนุรักษ์นิยมเกิดจากความสำเร็จในการระดมปัจเจกชนอนุรักษ์นิยมที่เคยกระจัดกระจายและยังไม่เคยได้รับการจัดตั้งมาก่อน เพื่อมาสนับสนุนขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบมวลชน (mass politics) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่มชาตินิยมสุดขั้ว กลุ่มกษัตริย์นิยม กลุ่มศาสนา และชนชั้นกลางหน้าใหม่ จนกระทั่งกลายเป็นมวลชนกลุ่มหลักผู้ให้การสนับสนุนขบวนการต่อต้านทักษิณในเวลาต่อมา กลุ่มพลังเหล่านี้ที่เคยกระจัดกระจายไร้การจัดตั้งได้รวมตัวกัน จนกลายเป็นกลุ่มก้อนและสามารถเข้ายึดกุมการนำของขบวนการฯ ได้ในที่สุด

    สอง พลังเสรีนิยมบางกลุ่มยอมประนีประนอมกับกลุ่มอนุรักษ์นิยมเพื่อแลกเปลี่ยนกับทรัพยากร อำนาจ และการสร้างพันธมิตร เพื่อให้สามารถคงบทบาทอยู่ในขบวนการฯ ได้ต่อไป นอกจากนั้นบางส่วนยังเชื่อตามกรอบโครงความคิดหลักของขบวนการฯ ที่ว่า “ภัยคุกคาม-วิกฤตครั้งใหญ่-ต้องทำอะไรเดี๋ยวนี้ (Threat-Mega Crisis-Action Now)” กล่าวคือ ทุกฝ่ายกำลังเผชิญกับภัยคุกคามร่วมกัน ซึ่งคือทักษิณที่พยายามผูกขาดอำนาจทางการเมือง และกำลังสร้างวิกฤตการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ให้กับสังคมไทย ทุกฝ่ายจึงต้องเข้าร่วมขบวนการต่อต้านทักษิณ เนื่องจากเป็นวิธีการเดียวที่จะขจัดทักษิณได้

    สาม กลุ่มเสรีนิยมที่เคยมีบทบาทนำขบวนการฯ ตั้งแต่ต้นและพยายามต่อสู้คัดค้านพลังอนุรักษ์นิยม เป็นกลุ่มที่อ่อนแอ ทั้งในเชิงจำนวนและอำนาจการต่อรองทางการเมือง ดังนั้นในแต่ละช่วงของความขัดแย้งภายในขบวนการฯ จึงค่อยๆ พ่ายแพ้ให้กับพลังอนุรักษ์นิยม จนท้ายที่สุดกลุ่มเสรีนิยมเหล่านี้ก็ถูกเบียดขับออกจากขบวนการฯ และถูกแทนที่ด้วยพลังอนุรักษ์นิยม

    บางส่วนจากคำนำของหนังสือ

ส่งฟรี เมื่อทำรายการสั่งซื้อ 600 บาทขึ้นไป (ส่งแบบธรรมดา)

มีบริการเก็บเงินปลายทาง (COD)

หนังสือที่เราคิดว่าคุณน่าจะชอบ

bottom of page