ศิลปะของการซื้อหนังสือซ้ำ
top of page

ศิลปะของการซื้อหนังสือซ้ำ

มีใครเคยซื้อหนังสือเล่มเดิมซ้ำมากกว่าหนึ่งเล่มบ้างครับ . คงมีนักอ่านเพียงไม่กี่คนในโลกนี้ที่จัดทำสารบัญสารบบรวบรวมรายชื่อหนังสือที่ตัวเองครอบครองเอาไว้ และเอาเข้าจริง ถึงแม้ว่าจะทำเอาไว้ พอไปหยุดยืนอยู่หน้าร้านหนังสือ เราก็มักจะจำไม่ได้ว่า หนังสือเล่มนั้นเราเคยซื้อมันหรือยัง . และกว่าที่เราจะรู้ตัวว่าเราซื้อหนังสือมาซ้ำ ก็ตอนที่เราลุกขึ้นมาจัดชั้นหนังสืออันแสนยุ่งเหยิงนั่นแหละ . เวลาเราซื้อหนังสือสักเล่ม มักจะเป็นเพราะเราสนใจในเนื้อหาของหนังสือ ความสวยงามของหน้าปก หรือชื่อของผู้เขียน นั่นคือ first impression / แต่เมื่อเราซื้อมันไปแล้ว เวลาผ่านไป ประสบการณ์เปลี่ยน กาลเวลาเปลี่ยน เราเดินมาเจอหนังสือเล่มเดิม เราจะยังรู้สึกกับหนังสือเล่มนั้นแบบเดิมอยู่หรือเปล่า . แล้วการที่เราซื้อมันมาอีกครั้ง เป็นเพราะเหตุผลเดิมหรือไม่ . ถ้าเราลืมหรือจำไม่ได้นั้นก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ โดยส่วนมากมักจะเกิดขึ้นกับหนังสือที่เรายังไม่เคยได้อ่าน แต่เรื่องน่าสนใจก็คือ มีนักอ่านหลายคนตั้งใจที่จะซื้อหนังสือเล่มเดิมซ้ำ แม้จะรู้ดีว่าที่บ้านมีหนังสือเล่มนั้นอยู่บนชั้นหนังสืออยู่แล้ว ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานาที่ดูจะเข้าใจได้เสียด้วย . และนี่คือหลากเหตุผลที่ผมคัดมาว่าทำไมเราถึงชอบซื้อหนังสือซ้ำ


 

1. ปกอ่อน vs ปกแข็ง

หลายครั้งเหตุผลในการซื้อหนังสือสักเล่มของเรา ไม่ใช่เพราะเราอยากอ่านหนังสือเล่มนั้นเสมอไป


เป็นระยะเวลาเนิ่นนานแล้วที่หนังสือเล่มหนึ่งมักจะพิมพ์ออกมาสองเวอร์ชั่น คือฉบับปกอ่อน และฉบับปกแข็ง อย่างในตลาดหนังสือยุโรปหรือสหรัฐฯ มักจะพิมพ์หนังสือเป็นปกแข็งในจำนวนน้อยเพื่อมาลองตลาดก่อน ถ้าขายดีถึงจะพิมพ์ฉบับปกอ่อนเพื่อให้สามารถจัดจำหน่ายกระจายหนังสือไปได้ทั่วประเทศ . หรืออย่างในประเทศไทย หนังสือคลาสสิกหลายเล่มก็มักจะพิมพ์เป็นปกอ่อนและปกแข็งให้เลือกซื้อเลือกสะสม . ปัญหาคือ มันไม่มีตรงกลางให้นักอ่านอย่างเราเลือก เราจึงต้องซื้อหนังสือทั้งสองเวอร์ชั่น (ยังไม่รวมถึงว่าปกแข็งปกอ่อนมีหน้าปกไม่เหมือนกันอีก) หนักกว่านั้นก็คือ บางคนอาจจะซื้อปกอ่อนเพิ่มอีกหนึ่งเล่มเพื่อเอามาใช้อ่านโดยเฉพาะ จดโน้ต ไฮไลท์หนังสือ แล้วเก็บหนังสืออีกสองเล่มไว้บนชั้นในสภาพสมบูรณ์ . . 2. พิมพ์ซ้ำ

หนังสือขายดีจำนวนมากสร้างความลำบากใจให้เราต่อเนื่องมานานหลายปี อาทิ แฮร์รี่ พอตเตอร์, เชอร์ล็อก โฮล์มส์ ที่พิมพ์ออกมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า . ที่สำคัญก็คือ หนังสือขวัญใจมหาชนพวกนี้มักจะมาพร้อมกับสิ่งพิเศษเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ฉบับนี้มีการสอดแทรกเนื้อหาพิเศษ มีการแนะนำโดยนักเขียนปรมาจารย์ หรือหนังสือเล่มนั้นได้รับรางวัล ก็จะปะยี่ห้อรางวัลนั้นบนหน้าปก .. นี่ยังไม่นับว่า บางคนไล่เก็บสะสมหนังสือเล่มเดิม ปกเดิม มากกว่าหนึ่งเล่ม เพียงเพราะมันพิมพ์ครั้งที่ 1 และเราก็ซื้อมันมาเพราะให้รู้ว่ามี และไม่เคยเปิดมันออกมาอ่านแม้แต่ครั้งเดียว . . 3. พลังอำนาจแห่งหน้าปก

กี่ครั้งแล้วที่เราโดนหนังสือล่อลวงด้วยหน้าปก

บางคนอาจจะมีแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์เล่มเดียวถึงสิบเล่ม เพราะฉบับเวอร์ชั่นภาษาต่าง ๆ ก็มีหน้าปกที่แตกต่างกันไป ยังไม่รวมถึงฉบับสะสมที่ออกมาเนื่องในโอกาสต่าง ๆ เช่น ฉบับครบรอบหนึ่งทศวรรษ หรือฉบับครบรอบ 20 ปี

อย่างฉบับครบรอบ 20 ปีแฮร์รี่ พอตเตอร์ ฉบับภาษาอังกฤษที่พิมพ์ออกมาขายถึง 8 เวอร์ชั่น (ปกอ่อน 4 / ปกแข็ง 4) . การตัดสินหนังสือจากหน้าปกอาจจะดูเป็นเรื่องไร้ประโยชน์ เพราะคุณค่าของหนังสือแท้จริงแล้วคือตัวหนังสือที่เขียนอยู่ข้างในมากกว่า แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า หน้าปกที่สวยงามมักทำให้อารมณ์เราสดใสขึ้น

บางคนอาจจะมีแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์เล่มเดียวมากกว่าสิบเล่มด้วยซ้ำ

 

การที่เราซื้อหนังสือเล่มเดิมซ้ำไม่ใช่เรื่องผิด ไม่ว่าจะด้วยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ในสายตาคนภายนอกที่ไม่ใช่นักอ่านก็อาจจะมองว่ามันความสิ้นเปลืองที่ไร้ประโยชน์ แต่ถ้ามีหนังสือเล่มใดที่ทำให้เรายอมซื้อมันซ้ำแล้วซ้ำอีกได้ ก็ประหนึ่งว่าเราได้เจอรักแท้ที่อยู่เคียงข้าง และเรายินดีที่หลงรักมันซ้ำไปซ้ำมาไม่รู้จบ ดังนั้นจึงอาจจะนับได้ว่านี่คือเสน่ห์และศิลปะในการอ่านแขนงหนึ่งก็เป็นได้การจะซื้อหนังสือสักเล่ม เราไม่จำเป็นต้องเหตุผลเพียงเพราะอยากจะอ่านมันเท่านั้น

ริชาร์ด เฮเบอร์ นักสะสมหนังสือชื่อดัง ช่วงศตวรรษที่ 18-19 เคยกล่าวเอาไว้ว่า “No gentleman can be without three copies of a book: one for show, one for use and one for borrowers."

"ไม่มีสุภาพบุรุษคนใดที่จะไม่มีหนังสือเล่มเดียวกันสามเล่ม เล่มหนึ่งไว้เก็บ เล่มหนึ่งไว้อ่าน เล่มหนึ่งไว้ให้คนอื่นยืม"

bottom of page