- ผู้เขียน: ประวิทย์ สายสงวนวงศ์
- สำนักพิมพ์: มติชน
- จำนวน : 304 หน้า ปกอ่อน
- พิมพ์ครั้งที่: 1 - มีนาคมเ 2568
- ISBN: 9789740219286
เปลี่ยนอีสานให้เป็น "ไทย"
อุดมการณ์รัฐชาติกับสำนึกการเมืองของคนที่ราบสูง” ✨
ย้อนกลับไปช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 บรรยากาศทางการเมืองของไทยได้เปิดกว้างมากขึ้น “ชาวอีสาน” จึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงออกทางการเมืองในฐานะพลเมืองของรัฐไทยหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น…
📍 กลุ่มนักการเมืองอีสานที่เข้ามามีส่วนร่วมในเวทีการเมืองระดับชาติ ด้วยการสนับสนุนการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญและร่วมเสนอแนวทางการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรือง
📍 หรือกลุ่มชาวบ้านในชนบทภาคอีสานที่แม้ขาดโอกาสในการเข้าถึงเวทีการเมืองระดับประเทศ ก็ร่วมแสดงออกถึงความคาดหวังต่อการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผ่านการเคลื่อนไหวเรียกร้องทางการเมือง
แน่นอนว่า ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน และไม่ได้เป็นผลมาจากการเปิดกว้างทางการเมืองหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เท่านั้น แต่มีต้นตอมาจากกระบวนการบูรณาการรัฐไทย ทั้งการบูรณาการเชิงอำนาจ การบูรณาการเชิงพื้นที่ และการบูรณาการเชิงความคิด ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 ที่หลอมรวม “พื้นที่อีสาน” จากปริมณฑลแห่งอำนาจให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติสมัยใหม่ในทุกมิติ โดยไม่เพียงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครอง แต่ยังพลิกโฉมวิถีชีวิต สร้างความเหลื่อมล้ำ และหล่อหลอมสำนึกทางการเมืองของชาวอีสาน เป็นผลให้ผู้คนในภาคอีสานเกิดความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทย ตลอดจนการมีสำนึกทางการเมืองที่นำไปสู่การความเคลื่อนไหวและการแสดงออกทางการเมืองต่างๆ ซึ่งต่อมา เมื่อการปกครองแบบประชาธิปไตยส่งผลให้การเมืองไทยเปิดกว้างมากขึ้น ชาวอีสานก็ได้ใช้เวทีการเมืองใหม่เป็นพื้นที่ในการแสดงออก ตลอดจนการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแข็งขันในขบวนการเสรีไทย