- ผู้เขียน: บุณฑริกา พวงคำ
สำนักพิมพ์: มติชน
- จำนวนหน้า: 256 หน้า ปกอ่อน
- พิมพ์ครั้งที่ 1 - ตุลาคม 2567
- ISBN: 9789740219026
นาริวิปลาส: ตัวตนผู้หญิง(ประหลาด)ในรัฐจิตเวชสมัยใหม่
"บ้า" คำคำนี้เป็นเครื่องมือหนึ่งของรัฐไทยที่ใช้ "แปะป้าย" คนซึ่งไม่เป็นไปตามนโยบายหรือความคาดหวังของรัฐมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถึงยุคอเมริกัน โดยคำคำนี้เปลี่ยนแปลงไปตามองค์ความรู้ทางจิตเวชที่เข้ามาขีดเส้นของความ "ปกติ"
หนึ่งในกลุ่มที่ความบ้าเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อนคือ "ผู้หญิง" เพศสภาพซึ่งล่องหายไร้เสียงมาตลอดหน้าประวัติศาสตร์
ขุดคุ้ยการเมืองของคำว่า "บ้า" กับการตีตราเนื้อตัวร่างกายและคุณค่าของ "ผู้หญิง"
1 บทนำ
ผู้หญิงกับความบ้า: การศึกษาประวัติศาสตร์ว่าด้วยผู้หญิงกับการเจ็บป่วยทางจิต
2 “ความบ้า” และจิตเวชในสังคมไทย ทศวรรษ 2430-2490
การจัดการความบ้าในยุคต้นรัตนโกสินทร์
ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ความรู้จิตเวชสมัยใหม่ พ.ศ.2475-ทศวรรษ 2480
3 ร่างกายและการเจ็บป่วยทางจิตของผู้หญิงในสังคมไทย ก่อนทศวรรษ 2500
โลหิต มดลูก กับการเจ็บป่วยทางจิตของผู้หญิงในสังคมสยาม
การเจ็บป่วยทางจิตและศีลธรรมแบบใหม่ในสยาม ปลายทศวรรษ 2450-2480
กามารมณ์ ศีลธรรมทางเพศ และสุขวิทยาทางจิตยุคสร้างชาติ ทศวรรษ 2470-2480
แม่ เมีย มิ่งมิตร: ยุคแห่งการสร้างจิตใจผู้หญิงแบบไทย ทศวรรษ 2480
4 สงครามเย็นกับการพัฒนาองค์ความรู้จิตเวชสมัยใหม่ยุคพัฒนา
อิทธิพลทางความรู้จิตเวชศาสตร์แบบอเมริกันช่วงสงครามเย็น
ความแตกต่างทางเพศในการเจ็บป่วยทางจิตของความรู้จิตเวชสมัยใหม่ ทศวรรษ 2500-2520
5 ผู้หญิงกับความผิดปกติทางจิตใจในความรู้จิตเวชไทยสมัยใหม่ ทศวรรษ 2500-2520
บทบาททางเพศกับการเจ็บป่วยทางจิตในสังคมไทย ทศวรรษ 2500
ฮอร์โมนทางเพศกับการเจ็บป่วยทางจิตของผู้หญิง
ผู้หญิงบ้ากับพฤติกรรมความรุนแรงที่เกิดจากความผิดปกติทางจิตใจ
จิตวิเคราะห์กับความผิดปกติทางจิตใจและความผิดปกติทางเพศ
6 ความรักความอบอุ่นในครอบครัว: ปัญหาทางจิตใจของเด็กที่เชื่อมโยงอยู่กับผู้หญิง ทศวรรษ 2500-2520
เด็กกับปัญหาทางอาชญากรรมและปัญหาสังคมในงานจิตเวช
ปัญหาครอบครัว: คำตอบสำเร็จรูปของปัญหาเด็กเกเรและอันธพาล
7 สุขภาพจิตผู้หญิง: หัวใจของสุขภาพจิตเด็กและสุขภาพจิตครอบครัว ทศวรรษ 2500-2520
“โรคขาดแม่”: จิตวิเคราะห์กับการกำหนดบทบาทหน้าที่แม่
“บุคคลเบ็ดเสร็จ”: ผู้หญิงสมัยใหม่ยุคพัฒนา
“ความสุขของแม่คือความสุขของมวลมนุษยชาติ”: รัฐกับการสร้างความเป็นแม่แห่งชาติ
ปัญหาการเพิ่มจำนวนประชากรกับผลกระทบต่อสุขภาพจิตพลเมืองไทย
8 บทสรุป