ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ : วิวัฒนาการรัฐไทย | paperyard
top of page
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ : วิวัฒนาการรัฐไทย
  • ผู้แต่ง : กุลลดา เกษบุญชู มี้ด

  • ผู้แปล : อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู

  • สำนักพิมพ์: ฟ้าเดียวกัน
  • จำนวนหน้า: 445หน้า ปกอ่อน
  • พิมพ์ครั้งที่ 1 — มกราคม 2562
  • ISBN: 9786167667782

ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ : วิวัฒนาการรัฐไทย

฿500.00 ราคาปกติ
฿450.00ราคาขายลด
  • ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ : วิวัฒนาการรัฐไทย เป็นหนังสือชุดสยามพากษ์ลำดับที่ 4 ของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน แปลจาก The Rise and Decline of Thai Absolutism ตีพิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 2004 โดยสำนักพิมพ์ RoutledgeCurzon ซึ่งปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของผู้เขียนที่ SOAS มหาวิทยาลัยลอนดอน งานชิ้นนี้ศึกษาประวัติศาสตร์การเปลี่ยนผ่านของรัฐไทยในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ช่วงศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20

    อะไรคือแรงผลักดันเบื้องหลังการเกิดรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทย และเหตุใดมันจึงเสื่อมลงในเวลาเพียงชั่วศตวรรษ คือคำถามสำคัญของหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนอาศัยทฤษฎีของวอลเลอร์สไตน์ (Immanuel Wallerstein) โบรเดล (Fernand Braudel) และคนอื่นๆ ซึ่งโยงบทบาทของระบบทุนนิยมโลกกับพัฒนาการของรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาใช้วิเคราะห์การเปลี่ยนรูปแบบรัฐไทยจากรัฐศักดินามาเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และได้ให้คำอธิบายที่แตกต่างไปจากงานศึกษาอื่น
    หนังสือเล่มนี้ยังพยายามแสดงให้เห็นว่า ในกระบวนการสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นได้มีการหว่านเพาะเมล็ดพันธุ์ที่จะทำลายระบอบในตัวมันเองลง โดยเฉพาะการสร้างระบบราชการสมัยใหม่อันเป็นกลไกที่ทรงประสิทธิภาพในการทำงานของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หากแต่กลับกลายเป็นกลไกที่กลืนกินตัวเอง สิ่งนี้สะท้อนจากความไม่พอใจภายในระบบราชการที่ก่อตัวและปะทุขึ้นจนนำมาสู่เหตุการณ์กบฏ ร.ศ. 130

ส่งฟรี เมื่อทำรายการสั่งซื้อ 600 บาทขึ้นไป (ส่งแบบธรรมดา)

มีบริการเก็บเงินปลายทาง (COD)

หนังสือที่เราคิดว่าคุณน่าจะชอบ

bottom of page