ลัทธิสตรีนิยมใน Game of Thrones: เมื่อผู้หญิงเป็นใหญ่ เหล่าชายเป็นเบี้
top of page

ลัทธิสตรีนิยมใน Game of Thrones : เมื่อผู้หญิงเป็นใหญ่ เหล่าชายเป็นเพียงเบี้ย


บทความต่อไปนี้อาจมีเนื้อหาบางส่วนที่เข้าขั้นเรท 18+ และอาจมีการสปอยเหนือหาบางส่วน

ณ เวลานี้คงมีคนเพียงไม่กี่คนที่จะไม่รู้จักมหากาพย์ภาพยนตร์แฟนตาซีซีรี่ย์ฟอร์มยักษ์อย่าง 'Game of Thrones' ซึ่งดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องยาวของจอร์จ อาร์. อาร์. มาร์ติน อย่าง 'A Song of Ice and Fire' ที่มีฉากจำลองเหมือนบ้านเมืองในอังกฤษศตวรรษที่ 15-16 ซึ่งมีสงคราม อัศวิน และการแย่งชิงบัลลังก์

เมื่อมองเผิน ๆ แล้ว สภาพสังคมของดินแดนเวสเทอรอสก็มีความใกล้เคียงกับยุโรปยุคกลางอยู่ไม่ใช่น้อย ที่ผู้ชายเป็นใหญ่และผู้หญิงเป็นเพียงผู้ตาม จนถึงบางครั้งก็เป็นเพียงเครื่องบรรเทาอารมณ์ทางเพศเสียด้วยซ้ำ แต่ถ้าพูดกันตามประวัติศาสตร์แล้ว ผู้หญิงก็เป็นตัวแปรอันดับต้น ๆ ของสาเหตุในการเปลี่ยนถ่ายขั้วอำนาจทางการเมืองอยู่ทุกช่วงเวลา

โดยเนื้อแท้ของเวสเทอรอสนั้นไม่ได้บูชาเทพทั้งเจ็ด เทพีแห่งแสง หรือเทพแห่งไฟ แต่กลับเป็นลัทธิสตรีนิยมเสียมากกว่า ไม่รู้ว่าจอร์จ มาร์ตินเป็นคนกลัวเมียหรือไม่ แต่ลุงแกได้แฝงเรื่องสิทธิสตรีมาตั้งแต่ตอนพิธีแต่งงานของแม่มังกร--แดเนอรีส ทาร์แกเรียนกับคาลโดรโกแล้วว่า...

"ฉันไม่ใช่แค่เครื่องมือบรรเทาอารมณ์ทางเพศ แต่ฉันสูงส่งกว่านั้น!"

เรามาดูกันดีกว่าว่า ตัวละครผู้หญิงในมหาศึกชิงบัลลังก์แสดงอำนาจบาตรใหญ่เหนือผู้ชายเช่นไร

 

เดอแนรีส ทาร์แกเรียน

หากใครจำฉากฟีทเจอริ่งกันของแเนอรีสและคาลโดรโกได้ล่ะก็ จะเห็นว่าคาลโดรโกจะอยู่เหนือแดเนอรีสตลอด (ตามคติของเผ่าโดธรากี) จนกระทั่งแดเนอรีสจัดการขึ้นค่อมเหนือคาลโดรโก นั่นเป็นสัญญาณแรกที่บอกอะไรบางอย่าง

เรื่องราวหลังจากนั้น เธอต้องเผชิญความยากลำบาก จนกระทั่งถึงฉากกำเนิดมังกรทั้งสามตัว เหล่าผู้นำแห่งโดธรากี (ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของความเป็นชายก็ว่าได้) ถูกเผามอดทั้งกลุ่ม เหลือรอดเพียงเดอแนรีส

ในฉากตอนที่เดอแนรีสเข้ายึดเมอรีน แล้วเข้าไปปฏิวัติวัฒนธรรมทุกอย่างของเมือง การให้เหล่าเศรษฐี ขุนนาง (ที่เป็นผู้ชาย) ก้มหัวให้เธอ (ซึ่งเป็นผู้หญิง) อีกเล่า นี่ยังไม่นับอินธิพลของเธอที่มีเหนือต่อจิตใจผู้ติดตามอย่างจอราห์ มอมอนท์ หรือองครักษ์นักฆ่าอย่าง ดาริโอ นาฮาริส ต่างก็หลงรักเธอ

และนับจากนั้น เธอก็กลายเป็นคาลิซีแห่งโดราธกีเหนือคาลโดโกทั้งมวล ราชินีแห่งเหล่าผู้ไร้มลทิน และแม่มังกร ผู้จะมาทวงคืนบัลลังก์เหล็ก การที่ลุงมาร์ตินเลือกให้เดอแนริสเป็นตัวแทนตระกูลทาร์แกเรียนก็บอกนัยยะเรื่องสตรีนิยมเป็นอย่างดี

 

เซอร์ซี แลนนิสเตอร์

ข้ามมายังคิงส์ แลนดิ้งกันบ้าง นับตั้งแต่เริ่มเรื่องเธอก็ดำรงตำแหน่งเป็นราชินีแห่งเวสเทอรอส พอสิ้นโรเบิร์ต บาร์ราเธียน ก็เป็นยุคสมัยของจอฟฟรีย์ บาร์ราเธียน และทอมเมน บาร์ราเธียน เธอก็ดำรงอยู่ในฐานะมารดาของกษัตริย์ ถึงแม้ว่าช่วงที่ไทวิน แลนนิสเตอร์เข้ามาเป็นหัตย์ของพระราชา จะทำให้บทบาททางการเมืองของเธอลดน้อยลงไปบ้าง แต่หลังจากลุงไทวินตายคาห้องส้วมแล้ว เธอก็แทบจะวางอำนาจกุมความคิดเหนือพระราชา ผู้เป็นลูกชายของเธอ

ต้องไม่ลืมว่า ข้ารับใช้ต่าง ๆ ของราชวงศ์ล้วนเป็นคนของเซอร์ซีทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเจมี่ แลนนิสเตอร์ น้องชาย (และสามีที่แท้จริง) ของเธอ หรือเกรเกอร์ คลีแกน องครักษ์ประจำตัว

ฉากการต่อสู้ขับเคี่ยวแย่งชิงอำนาจระหว่างเซอร์ซี แลนนิสเตอร์ และมาร์เจอรีย์ ไทเรล ยิ่งทำให้เราเห็นว่าความสำคัญของอิสตรีล้ำค่าเพียงใด สุดท้ายแล้วแม้จะมาร์เจอรีย์จะต้องวอดวาย และเซอร์ซีได้ก้าวขึ้นมาเป้นราชีนีแห่งเจ็ดราชอาณาจักรในที่สุด

 

โอเลียนนา ไทเรล และมาร์เจอรี ไทเรล

ดูเหมือนผู้หญิงตระกูลนี้จะฉลาดและโดดเด่นเป็นพิเศษ เพราะโอเลนนา ไทเรล ขึ้นชื่อว่าเป็น ยายแก่แร้งทึ้ง ตัวละครที่อายุยืนที่สุดในเรื่องแล้ว เข้าร่วมสงครามชิงบัลลังก์ แม้ว่าหลานชายจะเป็นเกย์ โดยการส่งหลานสาวอย่างมาร์เจอรีย์ ไทเรล หญิงหม้ายสามีถึงสองคนมาแต่งงานกับพระราชาทอมเมน หากพูดถึงมาร์เจอรีย์แล้ว เธอนับได้ว่าเป็นผู้ที่เล่มเกมชิงบัลลังก์ได้ดีมากคนหนึ่ง ฉลาด และมีปฏิภาณไหวพริบ จนเซอร์ซีกลายเป็นหมาหัวเน่า จนท้ายที่สุดต้องระเบิดทิ้ง แม้ว่านั่นจะทำให้ทอมเมนตัดสินใจตายตามพระชายาก็ตาม

จะเหลือก็แต่โอเลนนา ไทเรลที่ครองไฮห์การ์เด้นเพียงผู้เดียว (เพราะสามี ลูก และหลานชายตายหมดแล้ว) กลายเป็นอีกตระกูลหนึ่งที่นำโดยผู้หญิง

 

เอลลาเรีย แซนด์ และแซนด์ สเน็ค

เดินทางมายัง "ดอว์น" ดินแดนใต้สุดของเวสเทอรอสที่มีความร้อนกับทะเลทราย เป็นประเทศที่เชี่ยวชาญเรื่องอาวุธอย่างทวนและหอก จุดเด่นที่ผู้ชมและผู้อ่านน่าจะทราบคือการฝึกทหารผู้หญิงในการเป็นองครักษ์

เอลลาเรีย แซนด์ มุ่งมั่นตั้งใจจะแก้แค้นสามี (โอเบริน มาร์เทล) ทำการยึดอำนาจดอว์นมาไว้ในมือ คู่กับลูกสาวสามคนที่ได้รับฉายา "แซนด์ สเน็ค (งูทะเลทราย)" ทำให้เป็นอีกหนึ่งอาณาจักรที่ผู้หญิงขึ้นมาเป็นใหญ่

 

อาช่า เกรย์จอย

อาช่า เกรย์จอยเป็นลูกสาวของลอร์ดบารอน เกรย์จอยแห่งบารอนเกรย์จอย ดูเหมือนโชคชะตาจะเป็นใจให้เธอนับตั้งแต่ศึกระหว่างวินเทอร์เฟลและไอออนบอร์นที่ลูกชายของบารอน เกรย์จอยถูกสังหารหมด เหลือเพียงธีออน เกรย์จอยที่ไปเป็นตัวประกันในวินเทอร์เฟล มีเพียงอาช่า เกรย์จอยเท่านั้นที่อยู่เกาะเหล็กกับพ่อ

แนวคิดลัทธิสตรีนิยมชัดเจนมากยิ่งขึ้นเมื่อธีออนถูกแรมซีย์เฉือนของรักของหวงออกไปให้หมากิน ทั้งตัวอาช่าเองก็มีลักษณะเป็นทอมอย่างชัดเจน จนในที่สุด ทุกคนในเกาะเหล็ก (รวมถึงธีออน ที่มีสิทธิ์โดยชอบธรรม) ต่างยกให้เธอเป็นราชาเกาะเหล็ก ถึงแม้ว่าจะต้องต่อสู้แย่งชิงกับยูรอน เกรย์จอย--อาของเธอในที่สุด

 

แคทลีน สตาร์ค, อาร์ยา สตาร์ค และซานช่า สตาร์ค

เลดี้ สโตรนฮาร์ท--แม่ของเหล่าสตาร์ค ถ้าใครได้อ่าน Game of Thrones ฉบับนิยายจะทราบว่า แคทลีน สตาร์ทที่ถูกปาดคอไปพิธีวิวาห์เลือด (Red Wedding) ของร็อบบ์ สตาร์คนั้นได้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาโดนกลุ่มอัศวินไร้ธง และมีบทบาทสำคัญในการตามล่าตามแก้แค้นพวกแลนนิสเตอร์

ส่วนลูกสาวสองคนของเอ็ดดาร์ด สตาร์ค อย่างอาร์ยาและซานซ่า มีเคราะห์กรรมให้ต้องระหกระเหิน โดยเฉพาะอาร์ยาที่ถูกวางบทเด่นให้เป็นผู้ไร้หน้า ส่วนซานซ่าก็ตระเวณเป็นจำเลยให้แก่คนนู้นทีคนนี้ที แม้ว่ามองเผิน ๆ จะดูเหมือนถูกกดขี่ แต่ดูท่าซานช่าจะนำพาโชคร้ายมาสู่ผู้ชายทุกคนที่ทรมานทรกรรมเธอ และด้วยเหตุทั้งหมดทั้งมวลนี้ ทำให้สองสาวสตาร์คกลายเป็นสาวแกร่งอันดับต้น ๆ ของเรื่อง

 

ลีอานนา มอร์มอนท์

เกาะหมีหรือ Bear Island จะเป็นเพียงเกาะเล็ก ๆ แต่สมาชิกตระกูลมอมอนท์ผู้ปกครองเกาะก็มีบทบาทสำคัญ ทั้งจีโอ มอมอนท์ที่ออกจากการเป็นลอร์ดไปเป็นไนซ์วอทซ์ หรือจอราห์ มอมอนท์ที่ถูกเนรเทศออกนอกเวสเทอรอส ทำให้เกาะหมีเหลือเพียงผู้หญิงปกครอง

หลังจากเมิร์จ มอมอนท์ (ป้าของจอราห์ มอมอนท์) ตายใน Red Wedding สมาชิกตระกูลมอมอนท์ที่เหลืออยู่ก็มีเพียงลีอานนา มอมอนท์ เด็กหญิงที่ขึ้นเป็นลอร์ดแห่งเกาะหมีด้วยอายุเพียง 10 ขวบ และกลายเป็นขวัญใจของใครหลาย ๆ คน เพราะความเข้มแข็งเกินอายุของเธอ อาจจะเป็นการบอกว่า...

"เด็กผู้หญิงก็มีศักยภาพไม่แพ้ผู้ชาย"

 

ความจริงแล้วยังมีตัวละครผู้หญิงอีกมากที่มีบทบาทสำคัญและสะท้อนถึงลัทธิสตรีนิยมของเรื่องนี้ อาทิ บริแอนน์ แห่งทาธธ์

บริแอนน์ผู้หญิงร่างใหญ่ที่ผันตัวจากเลดี้ในปราสาท ฝันว่าอยากจะเป็นอัศวิน ถึงแม้ว่าดูจะเป็นไปไม่ได้ (เพราะเขาไม่ให้ผู้หญิงเป็นอัศวิน) แต่เธอก็ดำรงตำแหน่งองครักษ์มาตั้งแต่แรลลี่ บาร์ราเธียน, แคทลีน สตาร์ค จนมาถึงซานซ่า สตาร์ค ได้รับการยอมรับจากเจมี แลนนิสเตอร์ โดยการมอบดาบวาเลเรียนให้แก่เธอ

เรื่องของบริแอนน์สะท้อนให้เห็นถึงสิทธิสตรีที่เท่าเทียมผู้ชาย และผู้หญิงสามารถทำทุกอย่างในแบบที่ผู้ชายทำได้ เหมือนจะเป็นการตั้งใจบอกว่า...

"ผู้หญิงอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้ชาย"

ถึงแม้ว่าจอร์จ อาร์. อาร์. มาร์ตินจะเป็นผู้ชาย แต่การที่เขาวางตัวละครไว้เช่นนี้ ทำให้เราเห็นถึงความคิดที่จะยกฐานะสตรีขึ้นมา เป็นสิ่งเล็ก ๆ ที่ปรากฏอยู่ในสังคมปัจจุบัน (เรื่อง สิทธิสตรี) ที่สอดแทรกเข้ามาในมหาศึกชิงบัลลังก์ได้อย่างลงตัว

หาอ่านเรื่องราวของ Game of Thrones ได้ที่ : paperyard.co/george-r-r-martin

bottom of page