190 ปีชาตกาล 'จูลส์ เวิร์น' กับยุคสมัยแห่งนิยายไซไฟ
top of page

190 ปีชาตกาล 'จูลส์ เวิร์น' กับยุคสมัยแห่งนิยายไซไฟ



เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 190 ปีชาตกาลของนักเขียนนิยายไซไฟผจญภัยรุ่นบุกเบิกอย่าง "จูลส์ เวิร์น" และหากนำมาเปรียบเทียบกับนิยายไซไฟยุคปัจจุบัน มีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญ


"จูลส์ เวิร์น" เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1828 เขาเริ่มเป็นนักเขียนจากการเขียนบทละครเวทีเล็ก ๆ และหลายประเภท แต่นิยายไซไฟเรื่องแรกที่สร้างชื่อของเขาคือ " Five weeks in a balloon (ห้าสัปดาห์ในบอลลูน)" หลังจากนั้นก็มีนิยายชุดแนวไซไฟผจญภัยต่อมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น "Journey to the Center of the Earth", "From the Earth to the Moon", "Twenty Thousand Leagues Under the Seas (ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์)", " Around the world in Eighty days (80 วันรอบโลก)"และอื่น ๆ อีกมาก


ยุคแห่งการค้นหา

จุดเด่นนิยายของจูลส์ เวิร์น ก็คือ รายละเอียด เทคนิค และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกถ่ายทอดออกมาให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 นี่คือยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม เทคโนโลยีต่าง ๆ ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว หลายประเทศทั่วโลกเชื่อมต่อกันง่ายขึ้น ความอยากรู้อยากเห็นเพิ่มมากขึ้น มีอะไรบนท้องฟ้า อะไรอยู่ใต้ท้องทะเล ดินแดนอื่น ๆ เป็นเช่นไร


นิยายวิทยาศาสตร์จึงถูกนำมาผนวกกับการผจญภัยมากมาย มนุษย์พยายามไปให้สูงที่สุดด้วยบอลลูน ลงไปใต้ทะเลให้ลึกที่สุดด้วยเรือดำเนิน มันเป็นการค้นหาความจริง ความเป็นไปได้ สนองความอยากรู้อยากเห็นของผู้คน



ยุคอวกาศ

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เราก็หันหน้าเข้าสู่อวกาศเต็มรูปแบบ มีนักเขียนสองคนตั้งคำถามว่า "ข้างนอกนั้นมีอะไร" ผ่านนิยายของเขา

ไอแซค อาซิมอฟ ได้จินตนาการถึงยุคสมัยที่มนุษย์ได้กระจายไปทั่วจักรวาล ในเรื่อง "Foundation (สถาบันสถาปนา)" ใรปี 1943 สิ่งที่น่าสนใจคือ อาซิมอฟได้สรรค์สร้างเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ที่ก้าวล้ำที่มีอยู่ในยุคนั้นออกไปมาก และยังอธิบายซึ่งเทคนิคต่าง ๆ จนเชื่อว่าเป้นจริง (และหลายอย่างก็เกิดขึ้นจริงแล้วในเวลานี้)


อาเธอร์ ซี. คลาร์ก ค้นหาความเป็นไปที่ใกล้กว่าในนิยายชุด "A Space Odyssey (จอมจักรวาล)" กับการส่งมนุษย์ไปเยือนดาวเสาร์ นิยายของเขาตั้งคำถามถึงวิวัฒนาการของมนุษย์ กระบวนการแก้ปัญหา ทำให้เราสัมผัสถึงความเป็นไปได้ที่จะก้าวไปไกลในอวกาศของจริง



ยุคสงครามหรือยุคล่าอาณานิคม

ช่วงปี 70's-90's เหมือนเป็นการต่อยอดแนวความคิดของอาซิมอฟและคลาร์ก


นิยายไซไฟในยุคนี้เราเริมพูดถึงสิ่งมีชีวิตภูมิปัญญานอกโลก และเป็นปกติธรรมดาวิสัยมนุษย์ ที่เมื่อเริ่มเดินทางได้ไกลขึ้น พบเจอดินแดนใหม่มากขึ้น ก็ต้องการที่จะครอบครอง และนั่นนำมาสู่สงคราม ซึ่งเราพบได้ในเรื่อง "Startreck" ของยีน ร็อดเดนเบอร์รี หรือในมุมกลับกันที่มนุษย์โดนรุกรานเสียเองใน "Ender's Game" ของออร์สัน สกอตต์ การ์ด



ยุคแห่งเทคโนโลยี และมนุษย์

ดูเหมือนเราจะท่องอวกาศจนเบื่อแล้ว มนุษย์ก็ย้อนกลับมายังโลก แต่ไม่ใช่การกลับมาสำรวจโลกแบบจูลส์ เวิร์น แต่เป็นการกลับมาพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวไกลยิ่งขึ้น


ช่วงยุค 2000 เราได้เริ่มเข้าสู่ยุคคอมพิวเตอร์ นิยายไซไฟที่เราเห็นหลังจากนี้จึงมักเกี่ยวพันในเรื่องหุ่นยนต์, A.I., โลกเสมือน หรือไม่ก็พูดถึงสังคมดิสโทเปีย โลกที่ล่มสลาย ล้วนซึ่งแฝงปรัชญาและพูดถึงความเป็นมนุษย์


ในกรณีแรก ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง "LOCK-IN (จิตลวงร่าง)" ของจอห์น สกัลซี หรือ "Ready Player One" ของเอิร์นเนสต์ ไคลน์ หรือ "Airman" และ "Artemis Fowl" ของอีออยล์ โคลเฟอร์ ในกรณีหลัง ก็มีนิยายอย่าง "The Giver" ของลูอิส โลว์รีย์ หรือ "The 100" ของแคลส์ มอร์แกน

bottom of page