
ถ้าหากจะพูดถึงร้านค้าเคลื่อนที่ เริ่มแรกเดิมทีนั้นทุกคนอาจจะคุ้นเคยกับ ‘Food Truck’ ร้านอาหารเคลื่อนที่ที่พ่อครัวหรือเจ้าของกิจการจะยกห้องครัวไว้ท้ายรถมินิทรัก (รถบรรทุกนั่นล่ะ) แต่ถ้าหากจะกล่าวถึงธุรกิจอื่นที่ใช้โมเดลธุรกิจแบบนี้ หลายคนอาจจะนึกไม่ออก โดยเฉพาะหากมันเป็นธุรกิจ ‘ร้านหนังสือ’ ล่ะจะเป็นยังไง
Bookmobile หรือ Book Truck เป็นการต่อยอดธุรกิจของคนรุ่นใหม่ที่อยากจะเปิดร้านหนังสือ (หรืออาจจะอยากเปิด Book Café) มีที่มาย้อนกลับไปได้ถึงในช่วงศตวรรษที่ 19 โดย The British Workman ได้ออกมารายงานใน 1857 เกี่ยวกับห้องสมุดเคลื่อนที่ได้มีการสัญจรไปรอบ ๆ แปดหมู่บ้านในคัมเบรีย เมื่อนักบุญและพ่อค้าชาววิคตอเรีย พ่อค้าและคนใจบุญวิกตอเรียชื่อ "จอร์จ มัวร์" ได้ริเริ่มโครงการเพื่อ "กระจายวรรณกรรมที่ดีในหมู่ชาวชนบท"

ในปี 1858 The Warrington Perambulating Library ก็ถือกำเนิดขึ้น เป็นอีกหนึ่งต้นแบบห้องสมุดเคลื่อนที่อังกฤษในยุคแรก ๆ เป็นลักษณะรถลากเทียมม้าซึ่งดำเนินการโดย สถาบัน Warrington Mechanics 'Institute ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการให้ยืมหนังสือของตนให้กับลูกค้าที่มีความกระตือรือร้นในท้องถิ่น
เมืองแฟร์แฟกซ์ รัฐเวอร์จิเนีย มีการพัฒนาห้องสมุดเคลื่อนที่ขึ้นในแถบตะวันตกเฉียงเหนือในปี 1890 และเริ่มมีบริการให้ยืมหนังสือในปี 1940 โดยการสนับสนุนรถจาก Works Progress Administration ("WPA") แต่ก็หยุดให้บริการไปในอีกสองปีต่อมา
ศตวรรษที่ 20
ห้องสมุดเคลื่อนที่หรือร้านหนังสือเคลื่อที่กำเนิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1904 โดยห้องสมุดประชาชนของเชสเตอร์เคาน์ตี้ รัฐเซาท์แคโรไลนา ซึ่งทำหน้าที่ในพื้นที่ชนบทโดยมีรถลากลากหนังสือหิ้วไปตามพื้นที่ต่างๆ
ห้องสมุดเคลื่อนที่อื่น ๆ ได้รับการพัฒนาโดยแมรี เลมิสต์ ทิตคอมบ์ (1857-1932) เนื่องจากเธอเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดสาธารณะในวอชิงตันเคาน์ตี้ รัฐแมรี่แลนด์ Titcomb เป็นกังวลว่าห้องสมุดยังไม่สามารถเข้าถึงได้ทุกผู้คน

รายงานประจำปี 1902 มีห้องสมุดเคลื่อนที่ถึง 23 สาขากระจายอยู่รอบวอชิงตันเคาน์ตี้ ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถบริการทั่วถึงทั้งเมือง ในปี 1905 จึงได้ริเริ่มบริการส่งตรงถึงหน้าบ้านในพื้นที่ห่างไกลตัวเมือง
ซาร่าห์ เบิร์ด อาร์คกิว (Sarah Byrd Askew) ผู้ริเริ่มบรรณารักษ์สาธารณะ ได้พัฒนาต้นแบบห้องสมุดเคลื่อนที่ด้วยรถยนต์ฟอร์ด โมเดล T ขับไปยังพื้นที่ชนบทในรัฐนิวเจอร์ซีย์เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1920

ห้องสมุด Hennepin County Public Library (Minneapolis) เริ่มปฏิบัติการห้องสมุดเคลื่อนที่ (ซึ่งพวกเขาเรียกมันว่า "หนังสือเล่มเกวียน") ในปี 1923

ในระหว่างการดำเนินงานวันบริหารของ 1936-1943, ม้าบรรณารักษ์ (เรียกว่า "บรรณารักษ์ packhorse") เดินทางไกลจากอ่าวและ mountainsides ของเคนตั๊กกี้และใกล้ Appalachia นำหนังสือและอุปกรณ์ที่คล้ายกันกับผู้ที่ไม่สามารถทำให้การเดินทางไปยังห้องสมุดบน ด้วยตัวของพวกเขาเอง. บางครั้งพวกเขาอาศัยการติดต่อส่วนกลางเพื่อช่วยกระจายเนื้อหา
ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 ได้เกิดโครงการ "Library in Action"ในเมืองบรองซ์ รัฐนิวยอร์ค ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งนำหนังสือไปมอบให้แก่วัยรุ่นที่อยู่ภายใต้การดูแล
ห้องสมุดเคลื่อนที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในศตวรรษที่ 20 นี้เอง
ยุคปัจจบัน
ในต่างประเทศ ห้องสมุดเคลื่อนที่ยังคงมีให้เห็นตามห้องสมุดโรงเรียน แต่ก็ได้รับการติติงว่าเพิ่มมลภาวะทางอากาศ เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว มี Book Truck ที่เรี่ยไรหนังสือบริจาคตามชุมชน หนังสือทำมือที่มีต้นทุนต่ำ และหนังสือสำหรับเด็ก เพื่อนำไปใช้ทำห้องสมุดเคลื่อนที่ มีการทาสีเหลืองให้เข้ากัน แล้วนำไปออกบูธตามงานเทศกาลหนังสือต่างๆ


ในปี 2013 สำนักพิมพ์เพนกวินบุ๊คได้ทำ Book Truck สีส้มสดใส หรือที่พวกเขาเรียกว่า “Penguin Book Truck” ซึ่งจะเดินทางไปจอดตามสถานที่ต่างๆ เช่น ตามวิทยาลัยที่จัดงานหนังสือ Penguin Book Truck จะมาพร้อมกับรถหนังสือและรถเข็นหนังสือ นอกจากนี้สำนักพิมพ์เพนกวินยังสนับสนุนตัวแทนจำหน่ายหนังสือให้เปิดร้าน Book Truck ที่มีเพจเฟสบุ๊คหรือทวิตเตอร์อีกด้วย
ความจริงจังในเรื่องนี้ปรากฏให้เห็นชัดในอเมริกา เมื่อสมาคมห้องสมุดอเมริกันสนับสนุนให้มีวัน Bookmobile Day ประจำปีในวันพุธของสัปดาห์ห้องสมุดแห่งชาติเดือนเมษายน
แต่โมเดลเริ่มแรกเท่าที่เห็นนั้น Book Truck จะเป็นเพียงแค่ส่วนเสริมการขายของห้องสมุด สำนักพิมพ์หรือร้านหนังสืออิสระเสียมากกว่า โดยนักอ่านจะเจอ Book Truck เหล่านี้ได้ตามงานหนังสือหรืองานเทศกาลต่างๆ โรงเรียนหรือวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังไม่พบในแง่ที่เป็นธุรกิจเดี่ยว ๆ หรือการตั้งเป็นร้านหนังสือจริง ๆ มีเพียงไม่กี่แห่งในโลกเท่านั้น
เมื่อร้านหนังสือเริ่มเดิน

ในประเทศไทย สิ่งที่ใกล้เคียง Book Truck มากที่สุดคงจะเป็น โครงการห้องสมุดเคลื่อนที่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการกระจายแหล่งการเรียนรู้ให้เข้าถึงพื้นที่ทุรกันดาร เช่น พื้นที่บนดอยหรือบ้านเรือนริมน้ำเป็นต้น แต่ทว่าถ้ามองในแง่ร้านหนังสือเคลื่อนที่แล้วล่ะก็ กลับไม่พบเห็นเลยในประเทศไทย
ร้านหนังสือในประเทศไทยนั้นแทบจะเป็นธุรกิจที่ผูกขาดอยู่กับร้านหนังสือเพียงไม่กี่เจ้า อาทิเช่น ร้านนายอินทร์ ซีเอ็ดบุ๊ค แต่ก็ยังปรากฏร้านหนังสือทางเลือก ร้านหนังสืออิสระขนาดเล็กที่เป็นร้านหนังสือเฉพาะทางเกิดขึ้นกระจายๆ กันไป แต่ปัญหาสำคัญไม่ใช่แค่เรื่องที่มันกลายเป็นธุรกิจผูกขาด ปัญหามันคือ คนไม่ค่อยเข้าร้านหนังสือหรือซื้อหนังสือต่างหาก ถ้าไม่อ่านฟรีก็รอซื้อในงานหนังสือทีเดียว
ดังนั้น Book Truck มันจึงเป็นธุรกิจที่น่าสนใจมาก เพราะอะไรอย่างนั้นหรือ?
ผมสังเกตเห็นว่า คนไทยไม่ใช่ไม่ชอบอ่านหนังสือหรือเดินดูหนังสือเสียทีเดียว เมื่อมีการเปิดบูธหรือจัดตั้งแผงขายหนังสือในงานหรือตามห้างครั้งใด คนก็มักจะให้ความสนใจเดินเข้าไปสำรวจดูเสียทุกครั้ง (มากกว่าเข้าไปในร้านหนังสือเสียอีก)
ร้านหนังสือเสิร์ฟถึงที่ที่หน้าบ้านคุณ

การเปิดร้านหนังสือเป็นหนึ่งในธุรกิจในฝันของใครหลายคน เพราะว่าสินค้า (หนังสือ) เป็นประเภทที่ไม่ต้องใช้เงินทุน เนื่องจากวงการหนังสือบ้านเราใช้ระบบฝากขาย และหนังสือเป็นสินค้าที่ไม่มีวันหมดอายุ สามารถขายต่อไปเรื่อยๆ ตราบเท่าที่สภาพยังดีอยู่ แต่ทว่าร้านหนังสืออิสระที่ดูเหมือนจะเกิดขึ้นได้ง่ายนั้น แต่ล้มหายตายจากได้ง่ายเหมือนกัน
ถ้าเราที่เป็นผู้บริการสามารถนำเสนอมุมมองอะไรใหม่ๆ ให้แก่สังคมขึ้นมาได้ อย่างเช่น Book Truck คงจะเพิ่มสีสันให้กับวงการหนังือที่กำลังเข้าสู่ยุคตกต่ำได้ไม่น้อยเลยทีเดียว