[บทวิเคราะห์]ก้าวต่อไปของอมรินทร์ และอนาคตวงการสิ่งพิมพ์
top of page

[บทวิเคราะห์]ก้าวต่อไปของอมรินทร์ และอนาคตวงการสิ่งพิมพ์


ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการสิ่งพิมพ์ไทย อย่างที่หลายคนทราบ เมื่อบริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง (AMARIN) เจ้าของร้านนายอินทร์ สำนักพิมพ์แพรว นิตยสารแพรม บ้านและสวน ฯลฯ และ AMARIN TV ได้ตัดสินใจขายหุ้นบริษัทใครแก่บริษัท วัฒนภักดี ของเสี่ยเจริญ เจ้าพ่อน้ำเมาหรือเบียร์ช้างที่เรารู้จัก เนื่องมาจากการประสบภาวะขาดทุนอย่างหนักในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ตอนนี้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท อมรินทร์ คือ ตระกูลสิริวัฒนภักดี ที่ครอบครองไว้ถึง 47% ทำให้ผู้ก่อตั้งบริษัทอย่างครอบครัวอุทกะพันธุ์มีหุ้นในมือเพียง 30% เท่านั้น

และนั่นทำให้เกิดความครั่นครามต่อวงการสิ่งพิมพ์ในไทยมาก โดยได้เกิดกระแสความกังวลเล็ก ๆ แก่พันธมิตรคู่ค้าของอมรินทร์ ไม่ว่าจะเป็นร้านหนังสือหรือสำนักพิมพ์

ทำไมถึงขายหุ้น

สิ่งแรกที่หลายคนต้องทำความเข้าใจก่อนก็คือ เพราะเหตุใด อมรินทร์ถึงตัดสินใจขายหุ้นให้สิริวัฒนภักดี นั่นเพราะอมรินทร์ประสบภาวะขาดทุนและมีปัญหาด้านเงินหมุนเวียนอย่างหนัก ถึงขึ้นขาดทุนหนักวันละ 2 ล้านบาทเลยทีเดียว จึงต้องจัดหาทุนมาเพิ่มให้บริษัท ส่วนหนึ่งสาเหตุมาจากการที่เข้าไปหันมาทำธุรกิจทีวีดิจิตอล

ถึงแม้ว่า AMARIN TV จะเป็นหนึ่งช่องรายการที่มีคุณภาพ ทั้งเนื้อหาสาระด้วยการท่องเที่ยว กิจกรรม แอดแวนเจอร์ รวมถึงคอนเทนซ์ประเภทบ้านและการตกแต่ง

ปรับตัว

ถ้าหลายคนสังเกต อมรินทร์พยายามที่จะทำการสร้างภาพลักษณ์ใหม่มาโดยตลอด ทั้งการปรับโครงสร้างทางบัญชี หรือการปรับภาพลักษณ์จากความเก่าแก่ให้เป็นความทันสมัย ทั้งเปลี่ยนโลโก้ทั้งร้านนายอินทร์หรือ ปรับหน้าร้าน เพิ่มรูปแบบคอนเทนต์ เข้าถึงโลกโซเชียลมากขึ้น หรือการพยายาสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ เช่น การเปิดตัวสำนักพิมพ์ PHOENIX ที่เกิดจากความร่วมมือกับสำนักพิมพ์ KADOKAWA ของญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีการรีแบรนด์ดิ้งรางวัลนายอินทร์อวอร์ด เป็นรางวัล ARC Award

ก้าวต่อไปของอมรินทร์ ภายใต้หัวเรือใหม่

หลายคนกังวลว่าพออมรินทร์เข้าไปอยู่ภายใต้บริษัท วัฒนภักดี จำกัดในเครือของบริษัทไทยเบฟเวอเรจของตระกูลสิริวัฒนภักดีจะเป็นอย่างไร

สำนักพิมพ์ต่างกังวลว่านายทุนคนใหม่จะขึ้นค่าสายส่งหนังสือหรือเปล่า จากปัจจุบัน 45% ที่ถือว่าค่อนข้างสูงแล้วอยู่เหมือนกัน เช่นเดียวกับร้านหนังสือที่กลัวจะโดนกดส่วนลดจากสายส่งลดลง

แต่ในทัศนคติของผมคิดว่า ไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรที่ต่างจากเดิม การบริหารและดูแลยังคงอยู่ภายใต้ครอบครัวอุทกะพันธุ์ นั่นเพราะจากการวิเคราะห์สไตล์ของเสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี ผู้ขึ้นชื่อว่าเจ้าพ่อแห่งการเทคโอเวอร์เมืองไทย ไม่น่าจะเล็งเป้าเข้ามาในธุรกิจสิ่งพิมพ์เป็นสำคัญ แต่อาจจะเป็นเรื่องของอสังหาริมทรัพย์ในครอบครองของอมรินทร์เสียมากกว่า

และอีกอย่างหนึ่ง สิริวัฒนภักดีก็น่าจะปล่อยให้หน้าที่การดูแลอมรินทร์เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญอย่างครอบอุทกะพันธุ์เสียมากกว่า

ในขณะเดียวกัน ผมว่า สิ่งนี้น่าจะทำให้อมรินทร์แข็งแกร่งในการสู้กับคู่แข่งอย่างซีเอ็ดหรือบีทูเอสอีกมากทีเดียว เพราะด้วยเงินทุนที่หนา ทำให้สายป่านที่มียาวขึ้นและเหนียวขึ้น มีความมั่นคงมากขึ้น ไม่แน่ว่า เราอาจจะได้เห็นการโหมทำการตลาด ขยายตลาดออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านของอมรินทร์เร็ว ๆ นี้ก็เป็นได้

เช่นนี้จึงไม่มีอะไรที่ต้องเป็นกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นเลย.

ปล.บทความนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว มิใช่การฟันธงเสียทีเดียว

ร้านหนังสือเปเปอร์ ยาร์ด

101/179 โครงการสำเพ็ง2 ถ.กัลปพฤกษ์ แขวงคลองบางพราน เขตบางบอน กรุงเทพฯ 10150

Copyrights © 2017 Paperyard.co . All Right Reserved.

  • Grey Facebook Icon
  • Grey Instagram Icon
  • Grey Twitter Icon
  • icon
bottom of page