- ผู้เขียน: ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
- บรรณาธิการเล่ม: วริศ ลิขิตอนุสรณ์
- สำนักพิมพ์: สมมติ
- จำนวนหน้า: 272 หน้า ปกอ่อน
- พิมพ์ครั้งที่ 1 — ตุลาคม 2563
- ISBN: 9786165620130
ประวัติศาสตร์แห่งการเดินทางและภูมิศาสตร์การเมืองในรอบศตวรรษ
การเดินทางและท่องเที่ยวในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อใด??
ใครเป็นผู้กำหนดให้คุณสามารถท่องเที่ยว??
รู้หรือไม่ว่า การท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับชนชั้นและความสัมพันธ์เชิงอำนาจแทบทั้งสิ้น??
อะไรคือรากฐานที่แท้จริงของการท่องเที่ยวไทย??
ประวัติศาสตร์แห่งการเดินทางและภูมิศาสตร์การเมืองในรอบศตวรรษ เป็นหนังสือความรู้ในเชิงประวัติศาสตร์ พูดถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจของการท่องเที่ยวที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยผ่านสถานภาพของชนชั้นในสังคม
ที่จริงแล้วอำนาจเป็นตัวกำหนดความสามารถในการเดินทางและเข้าถึงสถานที่ต่างๆ หนังสือเล่มนี้ฉายภาพให้เห็นว่า การท่องเที่ยวไปในแดนต่างๆ สะท้อนให้เห็นพลานุภาพของอำนาจทางการเมืองอย่างไร
แต่ละยุคสมัยมีเงื่อนไขและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเดินทางและการท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน การเกิดขึ้นของแหล่งท่องเที่ยวหรือการกลายเป็นที่นิยม จึงขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แตกต่างกันไปด้วย การอธิบายลักษณะเฉพาะและความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ใช้กรอบศึกษาทางประวัติศาสตร์ในการวิเคราะห์เป็นพื้นฐาน โดยขยายพื้นที่ของประวัติศาสตร์สังคมอันจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและผู้คนในยุคสมัยต่างๆ พร้อมไปกับนโยบายของรัฐกับบทบาทที่ขยายตัวขึ้นอย่างมากในช่วงหลังสงครามเย็น อันกลายเป็นรากฐานสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในทุกวันนี้- คำนำ
- บทกล่าวนำ | ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
- การท่องเที่ยวหลังโรคระบาด ความพังพินาศของสามัญชนกับทางรอดเศรษฐกิจไทย
- บทนำ
- บทที่ 1 นิราศและยาตรา การเดินทางแห่งยุคจารีต (ทศวรรษ 2320 ถึง ทศวรรษ 2420)
- บทที่ 2 พักผ่อนหย่อนใจ การเดินทางของเจ้านายและชนชั้นผู้มีเวลาว่าง (ทศวรรษ 2430 ถึง พุทธศักราช 2475)
- บทที่ 3 รุ่งอรุณแห่งรัฐประชาชาติ การท่องเที่ยวกับชาตินิยมและท้องถิ่นนิยม (พุทธศักราช 2475 ถึง พุทธศักราช 2500)
- บทที่ 4 รายได้จากสงคราม และการกลายเป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (พุทธศักราช 2500 ถึง พุทธศักราช 2522)
- บทที่ 5 เที่ยวสร้างไทย การขยายตัวของตลาดภายในและการหลั่งไหลจากต่างชาติ (พุทธศักราช 2522 ถึง พุทธศักราช 2549)
- บทที่ 6 บทสรุป