- ผู้เขียน: ธเนศ วงศ์ยานนาวา
- สำนักพิมพ์: สมมติ
- จำนวนหน้า: 269 หน้า ปกอ่อน
- พิมพ์ครั้งที่ 1 — ธันวาคม 2557
- ISBN: 9786167196428
เมื่อฉันไม่มีขน ฉันจึงเป็นศิลปะ
ชีวิตในศตวรรษที่ 19 ทุกอย่างในเมืองผ่านมาแล้วก็ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ความงามไม่ได้เกิดตามธรรมชาติ แต่เกิดจากการคาดคำนวณวางแผนเอาไว้อย่างดี
ทั้งผมและขนต่างก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำจัดออกไปในพื้นที่ของศาสนาและศิลปะ
ผมกับผู้ทรงศีลเป็นของคู่กัน การโกนผมแสดงสัญลักษณ์ของการละเว้นเรื่องเพศ หรือเป็นการรักษาพรหมจรรย์ผมจึงเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับความหมายทางเพศและการร่วมเพศอันเป็นสิ่งชั่วร้ายตามหลักของหลายศาสนา
ขน/ผม มีสถานะทางจริยธรรมแห่งวิถีชีวิต ถึงแม้ว่า ขน จะเป็นธรรมชาติ แต่ขนก็เช่นเดียวกับอะไรอื่นๆ ที่เป็นธรรมชาติที่ยังต้องถูกกำกับด้วยการจัดระเบียบทางวัฒนธรรม
“ศิลปะจะต้องไม่มุ่งเน้นที่ความต้องการทางเพศแม้ว่านั่นจะเป็นความต้องการทางธรรมชาติก็ตามศิลปะจึงนำพามนุษย์ไปสู่ภาวะที่สุดขั้ว สภาวะที่มนุษย์ก้าวข้ามพ้นความเป็นมุนษย์ ดังนั้น การวาดรูปผู้หญิงเปลือยจะเป็นศิลปะได้ก็ตราบที่ไม่มีเรื่องเพศมาเกี่ยงข้องภาพนู้ดจึงเป็นภาพที่อยู่เหนือความเป็นมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งของผู้วาด”