- ผู้เขียน: โมริซ เลอบลอง
- ผู้แปล: ดารณี เมืองมา
- สำนักพิมพ์: ทับหนังสือ
- จำนวนหน้า: 262 หน้า ปกอ่อน
- พิมพ์เมื่อ: มกราคม 2555
- ISBN: 9786167704050
อาร์แซน ลูแปง ปะทะ เชอร์ล็อค โฮล์มส์
ตัวละครเอกของเรื่อง ผู้อ่านจับได้ทันทีว่าเฮอร์ล็อค โชล์มส์นั้นมิใช่ใครอื่น เขาคือ เชอร์ล็อค โฮล์มส์ นักสืบอังกฤษ พระเอกของเซอร์โคนันตอยส์นั่น เอง ผู้แต่งเลือกคู่อริฅนนี้ให้กับอาร์แซน ลูแปงก็ด้วยเหตุง่ายๆ คือ การผจญภัยของเชอร์ล็อค โฮล์มส์ เพิ่งได้รับการตีพิมพ์ในฝรั่งเศสก่อนหน้านั้นไม่นานในปี ค.ศ. ๑๙๐๒ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
อนึ่ง โมริซ เลอบลองได้รับสมญานานในประเทศฝรั่งเศสว่าเป็นโคนัน ดอยล์ชาวฝรั่งเศส ในเรื่องนี้ผู้แต่งยังได้เล่นกับลักษณะความคิดแบบฝรั่งเศส และความเข้มงวดแบบอังกฤษ หนุ่มทรงเสน่ห์ชาวฝรั่งเศสผู้ค่อนข้างจะนักเลงอยู่บ้างทำงานในโลกที่ผู้ฅน นับถือความมีหน้ามีตาในสังคมซึ่งเขารู้วิธีที่จะพลิกผันเหตุการณ์ให้เป็นไป เพื่อประโยชน์ของตัวเอง คุณค่าสำคัญสำหรับเขาคือความสุนทรีย์และความสำราญ ส่วนชาวอังกฤษนั้นเป็นฅนมีเหตุมีผลมากกว่า เขาทำงานโดยการใช้วิธีคิดเป็นเหตุเป็นผลอย่างเข้มงวดซึ่งบ่อยครั้งก็เฉลียว ฉลาดยิ่งและได้ผลแน่นอนเสมอ วิธีนี้ไม่มีที่สำหรับลางสังหรณ์ เป็นการใช้เหตุผลและความเข้าใจอย่างเดียว แต่การเ่ล่นบทเช่นนี้มักจะแพ้ลางสังหรณ์แบบฝรั่งเศสอยู่บ่อยครั้ง เพราะรวดเร็วกว่าและสร้างสรรค์มากกว่า แม้ว่าจะเสี่ยงมากกว่าก็ตาม ดังที่เชอร์ล็อค โฮล์มส์สารภาพว่า.... "เมื่อใดที่ผมไม่เข้าใจอะไรเลย เมื่อนั้นแหละที่ผมสงสัยอาร์แซน ลูแปง"
ตัวละครเอกของเรื่อง ผู้อ่านจับได้ทันทีว่าเฮอร์ล็อค โชล์มส์นั้นมิใช่ใครอื่น เขาคือ เชอร์ล็อค โฮล์มส์ นักสืบอังกฤษ พระเอกของเซอร์โคนันตอยส์นั่น เอง ผู้แต่งเลือกคู่อริฅนนี้ให้กับอาร์แซน ลูแปงก็ด้วยเหตุง่ายๆ คือ การผจญภัยของเชอร์ล็อค โฮล์มส์ เพิ่งได้รับการตีพิมพ์ในฝรั่งเศสก่อนหน้านั้นไม่นานในปี ค.ศ. ๑๙๐๒ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก อนึ่ง โมริซ เลอบลองได้รับสมญานานในประเทศฝรั่งเศสว่าเป็นโคนัน ดอยล์ชาวฝรั่งเศส ในเรื่องนี้ผู้แต่งยังได้เล่นกับลักษณะความคิดแบบฝรั่งเศส และความเข้มงวดแบบอังกฤษ หนุ่มทรงเสน่ห์ชาวฝรั่งเศสผู้ค่อนข้างจะนักเลงอยู่บ้างทำงานในโลกที่ผู้ฅน นับถือความมีหน้ามีตาในสังคมซึ่งเขารู้วิธีที่จะพลิกผันเหตุการณ์ให้เป็นไป เพื่อประโยชน์ของตัวเอง คุณค่าสำคัญสำหรับเขาคือความสุนทรีย์และความสำราญ ส่วนชาวอังกฤษนั้นเป็นฅนมีเหตุมีผลมากกว่า เขาทำงานโดยการใช้วิธีคิดเป็นเหตุเป็นผลอย่างเข้มงวดซึ่งบ่อยครั้งก็เฉลียว ฉลาดยิ่งและได้ผลแน่นอนเสมอ วิธีนี้ไม่มีที่สำหรับลางสังหรณ์ เป็นการใช้เหตุผลและความเข้าใจอย่างเดียว แต่การเ่ล่นบทเช่นนี้มักจะแพ้ลางสังหรณ์แบบฝรั่งเศสอยู่บ่อยครั้ง เพราะรวดเร็วกว่าและสร้างสรรค์มากกว่า แม้ว่าจะเสี่ยงมากกว่าก็ตาม ดังที่เชอร์ล็อค โฮล์มส์สารภาพว่า....
"เมื่อใดที่ผมไม่เข้าใจอะไรเลย เมื่อนั้นแหละที่ผมสงสัยอาร์แซน ลูแปง"