- ผู้เขียน: ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์
- สำนักพิมพ์: อ่าน
- จำนวนหน้า: 212 หน้า ปกอ่อน
- พิมพ์ครั้งที่ 1 — เมษายน 2559
- ISBN: 9786167158570
สัจนิยมมหัศจรรย์ ในงานของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ,โทนี มอร์ริสัน และวรรณกรรมไทย
โดยชื่อแล้ว คำว่า “สัจนิยมมหัศจรรย์” (magic realism) ก็บอกอยู่ในตัวว่าคือการหลอมรวมของวรรณของวรรณกรรมสองประเภทที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน นั่นคือ คำว่า “realism” นั้นอ้างอิงถึงวรรณกรรมแนวสัจนิยมที่มุ่งถ่ายสะท้อนความเป็นจริงของชีวิตและสังคมโดยยึดหลักความเหมือนจริงและความสมจริงตั้งอยู่บนหลักของเหตุและผลตามแบบวิทยาศาสตร์ธรรมชาติในแนวปฏิฐานนิยม ส่วนคำว่า “magic” นั้นอ้างอิงไปถึงวรรณกรรมในแนวแฟนตาซีเกี่ยวกับปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติเหนือจริง มักพบได้โดยทั่วไปในงานวรรณกรรมพื้นบ้านหรือตำนานท้องถิ่น กล่าวอีกนัยหนึ่ง “สัจนิยม” มีนัยประหวัดไปถึงยุโรป ชนชั้นกลาง และหลักเหตุผลนิยม ขณะที่ “มหัศจรรย์” มีนัยประหวัดไปถึง “โลกที่สาม” ชาวบ้านและความเชื่อที่ถูกมองว่างมงาย วรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์จึงถูกมองว่าเป็นวรรณกรรมที่เปิดพื้นที่ให้กับความหลากหลายและความขัดแย้งต่างๆ ซึ่งดำรงอยู่ในสังคมหรือแฝงตัวอยู่ในระบบคุณค่าและระบบความเชื่อ ได้เข้ามาปะทะสังสรรค์กันอย่างเต็มที่ โดยไม่พยายามที่จะกดทับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิให้ได้สำแดงตัวเองออกมา
-ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์- บทที่ 1 ความเป็นมาของวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์
- บทที่ 2 นิยามและลักษณะเฉพาะของวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์
- บทที่ 3 กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ กับการสร้างอัตลักษณ์วรรณกรรมละตินอเมริกัน
- บทที่ 4 โทนี มอร์ริสัน สัจนิยมมหัศจรรย์กับอัตลักษณ์แอฟริกันอเมริกัน
- บทที่ 5 ความเป็นมาของสัจนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมไทย
- บทที่ 6 สัจนิยมมหัศจรรย์ในฐานะทางเลือกวรรณกรรมของไทย
- บทที่ 7 สัจนิยมมหัศจรรย์ในฐานะวรรณกรรมทางเลือกของไทย
- บทสรุป สัจนิยมมหัศจรรย์ : จากยุโรปสู่ไทยผ่านละตินอเมริกา