- ผู้เขียน: Maurice Cranston
- ผู้แปล: ส.ศิวรักษ์
- บรรณาธิการ: ปิยศิลป์ บุลสถาพร
- สำนักพิมพ์: เท็กส์ (Text)
- จำนวนหน้า: 368 หน้า ปกอ่อน
- พิมพ์ครั้งที่ 3 — พฤษภาคม 2558
- ISBN: 9789743158995
ปรัชญาการเมือง
ปรัชญาการเมือง
Political Dialogues
งานชิ้นสำคัญของ มอริช แครนสตัน (Maurice Cranston) นักปรัชญา, นักรัฐศาสตร์แห่ง London School of Economicsพร้อมภาคผนวก >> บทแปล "ธรรมชาติของมนุษย์ กับ อำนาจ"จากท่อนทายของบทสนทนาระหว่าง Noam Chomsky กับ Michel Foucault "Human Nature : Justice vs Power"
บทสนทนาทั้งแปดในหนังสือเล่มนี้ ล้วนว่าด้วยปัญหาทางการเมือง หรือพูดให้ตรงยิ่งกว่านี้ ก็คือว่าด้วยปัญหาทางทฤษฎีการเมือง ในเรื่องเสรีภาพ ความเจริญ ความมีใจกว้าง รัฐ ปฏิวัติ ประชาธิปไตย จริยธรรม และคุณธรรมสำหรับพลเมือง เรื่องดังกล่าวนี้เป็นเรื่องหลักการทฤษฎีที่เกี่ยวกับรัฐมาแต่สมัยเปลโตหรือก่อนหน้านั้น และเป็นปัญหาที่น่าสนใจตลอดมาทุกยุคทุกสมัย
{ จากผู้เขียน }
"บทสนทนาทั้งแปดในหนังสือเล่มนี้ ล้วนว่าด้วยปัญหาทางการเมือง หรือพูดให้ตรงยิ่งกว่านี้ ก็คือว่าด้วยปัญหาทางทฤษฎีการเมืองในเรื่องเสรีภาพ ความเจริญ ความมีใจกว้าง รัฐ ปฏิวัติ ประชาธิปไตย จริยธรรม และคุณธรรมสำหรับพลเมือง เรื่องดังกล่าวนี้เป็นเรื่องหลีกทางทฤษฎีที่เกี่ยวกับรัฐมาแต่สมัยเปลโตหรือก่อนหน้านั้น และเป็นปัญหาที่น่าสนใจตลอดมาทุกยุคทุกสมัย"
—มอริซ แครนสตัน
{ จากผู้แปล}
"เมื่อข้าพเจ้าเรียนปรัชญาอยู่ที่มหาวิทยาลัย มอริซ แครนสตัน ได้ตีพิมพ์ "John Lock: A Biography" ออกมา ปรากฏว่าเป็นที่กล่าวขวัญกันมาก และข้อเขียนของเขา ก็มักมีออกอากาศทางวิทยุบีบีซี แล้วมักนำมาตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Listener เนืองๆ พวกเราที่เป็นนักเรียนมักฟังมักอ่าน และครูอาจารย์ก็มักแนะนำให้ทำเช่นนั้นด้วย บทสนทนาบางเรื่องที่นำมาแปลนี้ ชะรอยข้าพเจ้าจะเคยได้ยินมาแต่สมัยโน้นแล้วด้วยซํ้า
"ภายหลัง เมื่อข้าพเจ้ามีกิจต้องสอนปรัชญาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ดี ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ดี ได้มองหาตำรับตำราง่ายๆ ในภาษาอังกฤษ ให้นิสิตนักศึกษาอ่านอยู่เสมอ ยิ่งเมื่อตอนมารับสอนปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ ที่คณะอักษรศาสตร์ได้ไม่นาน ก็เผอิญนายแครนสตันตีพิมพ์หนังสือออกมาใหม่ ให้ชื่อว่า Political Dialogues พิจารณาดูแล้วเห็นว่าเหมาะแก่ภูมิปัญญาที่นิสิตจะพออ่านได้ จึงสั่งมาไว้ใช้เป็นหนังสือหลักสำหรับผู้ที่เรียนวิชานี้"
—ส. ศิวรักษ์{ จากบรรณาธิการ}
"ปรัชญาการเมือง ถือได้ว่าเป็นสิ่งสนับสนุนการแสวงหาความเข้าใจในแนวคิดต่างๆ
อันมีความสัมพันธ์กับกระบวนการของอำนาจ ที่กำหนดการมองและวินิจฉัยปรากฏการณ์ทางสังคม เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ศึกษามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง จนถึงในระดับรากฐานของปรากฏการณ์ ซึ่งผู้ศึกษาสามารถเลือกได้ว่า จะปฏิเสธหรือยอมรับองค์ประกอบต่างๆ ที่แยกย่อยออกมาเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกปัจจุบัน ที่มีความแตกต่างทางความคิดแยกย่อยออกมามากมาย การทำความเข้าใจจนถึงแก่นของความคิดหรืออุดมการณ์ จะทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจถึงจุดยืนทางความคิดต่างๆ รวมไปถึงเข้าใจความต้องการของตนเอง และสามารถเลือกที่จะสมาทานความคิด หรืออุดมการณ์ในการใช้ชีวิต โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้อื่น"
—ปิยศิลป์ บุลสถาพร